วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 👸 Self  Introduction


👧Name 👉 Amonrat  kongsawat      
    
👧Nickname  👉  Nuch    

💭Identification number  👉 6011200695

📓subject 👉 Learning Provision in Early Childhood Education

🏫Bechelor's degree  👉 Early Childhood, Faculty of Education, Chandrakasem Rajabhat University

🍰Birthday 👉 9  August  2541      
 
🎉Age 👉 22  
  
💖Motto 👉 The future depends on what we do in the present.


🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸



วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Learning Record 💗 14

วันจันทร์  ที่16 พฤศจิกายน  พ.ศ.2563 

ความรู้ที่ได้รับ

   ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้ให้กระดาษไปเขียนตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายเพื่อเป็นการทบทวนความรู้จากสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปในภาคเรียนนี้ของรายวิชาทำให้เราได้นำความรู้ไปปรับใช้ได้ในอนาคตซึ่งในแต่ละหัวข้อ มีดังนี้

💢กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย💢

 💗ประเด็นสำคัญ

1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 



  💟เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ หรืออุปกรณ์อื่นๆมาประกอบการเคลื่อนไหว     

  💟ส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ในระหว่างพัฒนาการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ด้วยการเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ

💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

2.กิจกรรมเสรี



   💟เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระตามมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ในห้องเรียน

   💟ให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ลักษณะของการเล่นของเด็กมีหลายลักษณะ เช่น การเล่นบทบาทสมมติและเล่นเลียนแบบ ในมุมบ้าน มุมหมอ มุมร้านค้า มุมวัด มุมเสริมสวย ฯลฯ การอ่านหรือดูภาพในมุมหนังสือ การเล่นสร้างในมุมบล็อก การสังเกตและทดลองในมุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติ การเล่นฝึกทักษะต่างๆ ในมุมเครื่องเล่นสัมผัส หรือมุมของเล่น หรือมุมเกมการศึกษาเป็นต้น

   💟การจัดกิจกรรมเสรีหากครูจัดมุมเล่นโดยจัดวางวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย ไม่ท้าทาย หรือไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลยย่อมทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ เพราะสมองจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีสิ่งจูงใจที่ชักนำให้สมองสนใจผลิตความรู้ สมองจะมีกระบวนการเลือกคัดกรองเฉพาะสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้นเข้าสู่การรับรู้ของสมอง 

                 💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

3.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 


   💟เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ 

   💟กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล 

   💟ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย เล่านิทาน สาธิต ทดลอง ศึกษานอกสถานที่ เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง ประกอบอาหาร เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ฯลฯ

💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

4.กิจกรรมกลางแจ้ง



   💟เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก 

   💟กิจกรรมกลางแจ้งที่ควรจัดให้เด็กได้เล่น เช่น การเล่นเครื่องเล่นสนามที่เด็กได้ปีนป่าย โยกหรือไกว หมุน โหน เดินทรงตัว หรือ เล่นเครื่องเล่นล้อเลื่อน การเล่นทราย การเล่นน้ำ การเล่นสมมติในบ้านจำลอง การเล่นในมุมช่างไม้ การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา การเล่นเกมการละเล่น ฯลฯ

💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

5.กิจกรรมสร้างสรรค์ 


   💟เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีกปะ ตัดปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นๆ ที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ ได้รับรู้เกี่ยวกับความงาม และได้แสดงออกทางความรู้สึก และความสามารถของตนเอง 

   💟การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ควรจัดให้เด็กทำทุกวัน โดยอาจจัดวันละ 3-5 กิจกรรม ให้เด็กเลือกทำอย่างน้อย 1-2 กิจกรรมตามความสนใจ

   💟เมื่อเด็กทำงานศิลปะเด็กจะเกิดการเชื่อมโยงในสมอง คิดจินตนาการ และผลโดยตรงที่เด็กได้รับ คือ ความรู้สึกพอใจ มีความสุข และได้สัมผัสสุนทรียะของโลกตั้งแต่วัยเยาว์ การแสดงออกทางศิลปะจึงเปรียบเสมือนการสร้างจินตนาการเป็นรูปร่างภายนอกแล้วป้อนกลับเข้าสู่สมอง เป็นการทำให้สมองได้จัดการกับจินตนาการต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยิ่งทำ ยิ่งจัดระบบความคิดได้ดีขึ้น ในการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสมอง ครูจึงควรให้เด็กมีเวลาเต็มที่ในการทำงานศิลปะ ให้เด็กมีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส มีโอกาสทดลองใช้วัสดุ และเครื่องมือที่หลากหลาย ได้พูดคุยเกี่ยวกับงานของตนเองหรือให้เด็กได้จัดแสดงและนำเสนอผลงาน ศิลปะของเด็กไม่ควรเน้นการลอกเลียนแบบ หรือการทำให้เหมือนของจริง เนื่องจากสายตาและจินตนาการของเด็กวัยนี้ยังไม่ได้มุ่งไปสู่ความถูกต้องของสัดส่วน แสง หรือเงา

💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

6.กิจกรรมเกมการศึกษา 

   💟เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญามีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้ 

   💟ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท และความสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่/ระยะ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เกมจับคู่ เกมแยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ ฯลฯ

   💟ช่วยพัฒนาสมองด้านการคิด เมื่อเซลส์สมองถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณต่างๆ เกิดเป็นข้อมูลจำนวนมาก การคิดจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้นซึ่งจะกลายเป็นข้อมูลใหม่อีกชิ้นหนึ่งซึ่งซับซ้อนขึ้น การที่เด็กเล่นเกมการศึกษาจึงเป็นการกระตุ้นให้สมองได้จัดความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบใหม่ เมื่อเกิดซ้ำๆ กัน ก็จะเกิดความคงตัวในวงจรร่างแหของเซลส์สมองนั่นเอง        

    จะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก พัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม พัฒนาสังคมนิสัย พัฒนาการคิด พัฒนาภาษา และส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย และหลักการทำงานของสมองอย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์ที่มีมานานมากแล้วก็ตาม หากครูจัดได้ถูกต้อง และครบถ้วนอย่างสม่ำเสมอย่อมนำไปสู่การทำให้เด็กกระตือรือร้นใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเกิดแรงจูงใจในการเรียน เด็กได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ครบทุกด้าน ช่วยเกิดการพัฒนาแบบองค์รวม ทั้งสาระการเรียนรู้ ทักษะ และประสบการณ์สำคัญ ช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการจำ การคิด และการแก้ปัญหา และช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป เด็กจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยความรู้นั้นเป็นความรู้ที่คงทนไม่ลบเลือนไปโดยง่าย


💚การจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงสภาพที่พึงประสงค์💚

  สภาพที่พึงประสงค์ 👉 บอกลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆโดยใช้ประสาทสัมผัส 

  💜กิจกรรม ผลไม้หลากชนิด

1.ให้เด็กๆบอกลักษณะของผลไม้แต่ละชนิด อย่างเช่น ส้ม มีลักษณะทรงกลม มีเปลือกสีส้ม,องุ่น มีลักษณะทรงกลม มีสีม่วง 

2.ให้เด็กๆบอกส่วนประกอบของผลไม้แต่ละชนิด อย่างเช่น ทุเรียน มีเปลือก เนื้อเหลือง เมล็ด,เงาะ มีเนื้อสีขาว เมล็ด เปลือกสีแดง  

3.ให้เด็กๆได้ใช้ประสาทสัมผัสในกิจกรรมนี้ อย่างเช่น ตาเอาไว้ดูลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของผลไม้,จมูกเอาไว้ดมกลิ่นผลไม้แต่ละชนิด,ลิ้นเอาไว้สัมผัสรับรสชาติที่แตกต่างกันจากผลไม้

  💜กิจกรรม สัตว์น้ำน่ารู้  

1.ให้เด็กๆบอกลักษณะของสัตว์น้ำแต่ละชนิด อย่างเช่น ปลา ลักษณะมีตา ปาก ครีบ หาง เกร็ด

2.ให้เด็กๆบอกส่วนประกอบของสัตว์น้ำแต่ละชนิด อย่างเช่น กุ้ง ส่วนประกอบมีหนวด เปลือก เนื้อกุ้ง 

3.ให้เด็กๆได้ใช้ประสาทสัมผัสในกิจกรรมนี้ อย่างเช่น ตาเอาไว้ดูลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของสัตว์น้ำ,ลิ้นเอาไว้สัมผัสรับรสชาติที่แตกต่างกันจากเนื้อปลา กุ้ง หอย        

  สภาพที่พึงประสงค์ 👉 จำแนก จัดหมวดหมู่สิ่งของ

   💛กิจกรรม จับคู่ภาพเหมือน

 ให้เด็กๆจับคู่ภาพเหมือนจากรูปภาพที่กำหนดให้



   💛กิจกรรม จัดหมวดหมู่ภาพสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

 ให้เด็กๆจัดหมวดหมู่จากรูปภาพที่กำหนดให้



💫จุดประสงค์ในแต่ละกิจกรรม💫

1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 

  จุดประสงค์

1.เด็กพัฒนาอวัยวะทุกส่วนให้มีความสัมพันธ์ในขณะเคลื่อนไหวได้

2.เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน

3.เด็กกล้าแสดงออกและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.เด็กใช้ภาษา การฟังคำสั่ง ข้อตกลงและปฏิบัติตามได้

5.เด็กรู้จักปรับตัวการทำกิจกรรมและความร่วมมือในกลุ่ม

2.กิจกรรมเสรี

  จุดประสงค์

1.เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้

2.เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้

3.เด็กรู้จักปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นรู้จักรอคอยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

4.เด็กคิดวางแผนและตัดสินใจในการทำกิจกรรมได้

3.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

  💖ชื่อกิจกรรม "สะกดรอย"

  จุดประสงค์

1.เด็กนับและบอกจำนวนรอยเท้าของสัตว์ได้

2.เด็กสนทนาโต้ตอบได้

3.เด็กบอกลักษณะรอยเท้าสัตว์ได้

4.เด็กทำท่าสัตว์ประเภทต่างๆตามเพลงได้

4.กิจกรรมกลางแจ้ง

  💖ชื่อกิจกรรม "วิ่งเก็บถุงถั่ว"

  จุดประสงค์

1.เด็กกระโดดขาเดียวมีความต่อเนื่องได้

2.เด็กปฎิบัติตามกติกา ข้อตกลงที่ตั้งไว้ได้

3.เด็กกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรม

4.เด็กร่วมเล่นกับผู้อื่นได้

5.กิจกรรมสร้างสรรค์

  💖ชื่อกิจกรรม "สัตว์น้ำแสนสวย"

  จุดประสงค์

1.เด็กเติมส่วนประกอบของสัตว์น้ำได้

2.เด็กใช้กรรไกรตัดรูปสัตว์ตามรอยที่คัดลอกให้เป็นรูปร่างได้

3.เด็กจัดวางตำแหน่งของสัตว์น้ำได้

4.เด็กตกแต่งผลงานจากเศษผ้าและวัสดุแวววาวหลากสีตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้

6.กิจกรรมเกมการศึกษา

  💖ชื่อกิจกรรม "เรียงลำดับแผ่นภาพการเกิด"

  จุดประสงค์

1.เด็กอธิบายการเกิดของสัตว์ประเภทต่างๆได้

2.เด็กเรียงลำดับแผ่นภาพของการเกิดของสัตว์ประเภทต่างๆได้

   สำหรับภาคเรียนนี้เป็นคาบสุดท้ายที่ได้เรียนกับอาจารย์มีการพูดคุยในหลายๆเรื่องและให้ความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้ไม่เคยได้เรียนรู้มาก่อนทำให้ดิฉันสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในหลายๆวิชา



 

❤บรรยากาศภายในห้องเรียน❤







                                                        💛คำศัพท์💛

1.Movement and rhythm activities    กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

2.Free activities                   กิจกรรมเสรี

3.Educational game activities       กิจกรรมเกมการศึกษา

4.Experience activities             กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

5.Outdoor activities                กิจกรรมกลางแจ้ง


💜การประเมิน💜

ประเมินตนเอง 👉 วันนี้ได้ทบทวนความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรายวิชานี้ทำให้ตนเองได้รู้ว่าเราควรไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้มากขึ้นกว่าเดิม
ประเมินเพื่อน 👉 เพื่อนๆตั้งใจเขียนที่อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละห้วข้อ
ประเมินอาจารย์ 👉 อาจารย์ได้อธิบายและทบทวนให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นในเรื่องของเด็กปฐมวัยและการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก

Learning Record 💗 13

วันจันทร์  ที่9 พฤศจิกายน  พ.ศ.2563 

ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งไฟล์ หน่วยต่างๆที่ได้รับผิดชอบซึ่งอาจารย์ได้อธิบายว่าต้องปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้างในแต่ละหน้าทำให้ทุกกลุ่มได้นำกลับไปแก้ไขอย่างถูกต้องและเข้าใจมากยิ่งขึ้นจะมีทั้งหมด 6 กลุ่มหรือ 6 หน่วยการเรียนรู้

💟กลุ่มที่ 1 หน่วยอวัยวะของร่างกาย

💟กลุ่มที่ 2 หน่วยอาหารดีมีประโยชน์

💟กลุ่มที่ 3 หน่วยผีเสื้อ

💟กลุ่มที่ 4 หน่วยสัตว์น้ำ

💟กลุ่มที่ 5 หน่วยเมืองไทยที่รัก

💟กลุ่มที่ 6 หน่วยฝนจ๋า

กลุ่มของดิฉัน 

หน่วย สัตว์น้ำ🐬🐟

( แก้ไขสมบูรณ์ )





Web เนื้อหา


กรอบพัฒนาการและกิจกรรม


Web ( บูรณาการทักษะรายวิชา)


Web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
 
💚💚💚💚💛💛💛💛💛💛

วันจันทร์

( ชื่อของสัตว์น้ำ )





💚💚💚💚💛💛💛💛💛💛

วันอังคาร

( ลักษณะของสัตว์น้ำ )






💚💚💚💚💛💛💛💛💛💛

วันพุธ

( การจัดหมวดหมู่ของสัตว์น้ำตามแหล่งที่อยู่อาศัย )






💚💚💚💚💛💛💛💛💛💛

วันพฤหัสบดี

( ประโยชน์ของสัตว์น้ำ )




💚💚💚💚💛💛💛💛💛💛

วันศุกร์

( การอนุรักษ์สัตว์น้ำ )





เทคนิคการจัดกิจกรรม


สิ่งที่ควรแก้ไขในแผนการจัดประสบการณ์

1.การเขียนวัตถุประสงค์ ควรใส่คำว่าบอก อธิบาย ไม่ควรใส่คำกริยาที่ซ้อนกัน เช่น เด็กสามารถบอก
2.การเขียนสาระที่ควรเรียนรู้ ควรอธิบายว่าเนื้อหาที่จะสอนมีอะไรบ้าง
3.ประสบการณ์สำคัญ สิ่งที่เด็กได้รับในการทำกิจกรรม
4.กิจกรรมการเรียนรู้  
   ขั้นนำ
   1.ครูและเด็กร่วมกัน.... อย่างเช่น อ่านคำคล้อง ร้องเพลง เล่านิทาน
   2.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาจาก..... อย่างเช่น  คำคล้อง ร้องเพลง เล่านิทาน
   ขั้นสอน
   (3.,4.) เป็นขั้นสอนที่เราสามารถออกแบบโดยการใช้สื่อเป็นตัวให้ความรู้แก่เด็ก เช่น รูปภาพ ของเสมือนจริง และให้เด็กออกมาติดภาพในแผนผังความคิดพร้อมทั้งบันทึก (ในแผนควรใส่กราฟิก)
   ขั้นสรุป
   5. ครูและเด็กร่วมกันทบทวน......
6.สื่อ/แหล่งเรียนรู้ ใส่สื่อที่เราให้เด็กได้เรียนรู้
7.การวัดและประเมินผล มาจากช่องวัตถุประสงค์หรือผลที่เด็กจะได้รับ
8.การบูรณาการ เด็กได้อะไรบ้าง เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ฯลฯ หรือจะใส่มาตรฐานที่เด็กจะได้รับ

       หลังจากนั้นอาจารย์ได้อธิบายและให้ความรู้เพิ่มเติมเพื่อจะนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

💭ประสบการณ์สำคัญ 👉 เพื่อให้ได้ตามสภาพที่พึงประสงค์

💬สภาพที่พึงประสงค์

    สภาพที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่คาดหวังให้เด็กเกิดบนพื้นฐานพัฒนาการตามวัยหรือความสามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดสาระเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์ กิจกรรมและประเมินพัฒนาการเด็กอาจเพิ่มเติมได้โดยพิจารณาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมตลอดจนความต้องการของเด็ก มีรายละเอียดของมาตรฐาน มาตรฐานคุณลกัษณะที่พึงประสงค์ตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ดังนี้

 





















💬ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์จำนวน ๑๒ มาตรฐาน โดยเลือกตัวบงชี้ในแต่ละมาตรฐานให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และ    นำไปจัดประสบการณ์ผ่าน 6 กิจกรรม โดยมาตรฐาน ๑๒ มาตรฐาน ประกอบด้วย
๑.พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
๒.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
๓.พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นไดอ้ย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมใน
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๔.พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ ๙ ใชภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

💬พัฒนาการเด็กปฐมวัย

   พัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญาแสดงใหเ้ห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้นตามวุฒิภาวะและสภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอาจเร็วหรือช้าแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน

๑. พัฒนาการด้านร่างกาย เป็นพัฒนาการที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของร่างกายในด้านโครงสร้างของร่างกาย ด้านความสามารถในการเคลื่อนไหวและด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดีรวมถึงการใช้สัมผัสรับรู้ การใช้ตาและมือประสานกัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ เด็กอายุ๓-๕ ปี โดยเฉพาะในเรื่องน้ำหนักและส่วนสูงกล้ามเนื้อใหญ่จะมีความก้าวหน้ามากกว่ากล้ามเนื้อเล็ก สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีมีความคล่องแคล่วว่องไวในการเดิน สามารถวิ่ง กระโดด ควบคุมและบังคับการทรงตัวได้ดีจึงชอบเคลื่อนไหวไม่หยดุ นิ่ง พร้อมที่จะออกกา ลงัและเคลื่อนไหวในลกัษณะต่างๆส่วนกล้ามเนื้อเล็กและความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือยังไม่สมบูรณ์การสัมผัสหรือการใช้มือมีความละเอียด ถ้าเด็กไม่เครียดหรือกังวลจะสามารถทำกิจกรรมที่พัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้ดีและนานขึ้น

๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกของเด็ก เช่น พอใจไม่พอใจรัก ชอบ สนใจเกียด โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและการนับถือตนเอง เด็กอายุ ๓-๕ ปี จะแสดงความรู้สึกอย่างเต็มที่ไม่ปิดบัง เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ แต่จะเกิดเพียงชั่วครู่แล้วหายไปเปลี่ยนแปลงอารมณ์ง่ายเพราะมีช่วงความสนใจระยะส้ัน เมื่อมีสิ่งใดน่าสนใจก็จะเปลี่ยนความสนใจไปตามสิ่งนั้น เด็กวันนี้หวาดกลัวสิ่งต่างๆ เช่น ความมืด หรือสัตว์ต่างๆ ความกลัวของเด็กเกิดจากจินตนาการ ซึ่งเด็กเป็นเรื่องจริงสำหรับตน 

๓. พัฒนาการด้านสังคม เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมคร้ังแรกในครอบครัวโดยมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อ แม่และพี่น้อง เมื่อโตขึ้นต้องไปสถานศึกษา เด็กเริ่มเรียนรู้การติดต่อและการมีสัมพันธ์กับบุคคลนอกครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในวัยเดียวกัน เด็กไดเ้รียนรู้การปรับตัวให้เข้าสังคม

๔. ด้านสติปัญญา  ความคิดของเด็กวัยนี้มีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลางยังไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น เด็กมีความคิดเพียงแต่ว่าทุกคนมองสิ่งต่างๆรอบตัว และรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ เหมือนตนเองความคิดของตนเองเป็นใหญ่ที่สุด เมื่ออายุ๔-๕ ปีเด็กสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบตัวได้สามารถจำ สิ่งต่างๆ ที่ได้กระทำซ้ากันบ่อยๆ 

💭ลักษณะของพัฒนาการ 👉 การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
💭ความหมายของพัฒนาการ 👉 การเปลี่ยนแปลงของความสามารถของเด็กที่เด็กทำได้ตามลำดับขั้นในแต่ละช่วงอายุ
💭ตัวบ่งชี้ 👉 คุณลักษณะของเด็กหรือพฤติกรรม ( สะท้อนเด็กว่าบรรลุหรือยัง.... )  
💭 12 มาตรฐาน  29 ตัวบ่งชี้
💭ประสบการณ์ 👉 แนวคิด  สังกัป  มโนทัศน์ 
💭กรอบพัฒนาการ 👉 ดูจากพัฒนาการ
💭การส่งเสริมวิธีการทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้


💢บรรยากาศภายในห้องเรียน💢







                                                 💛คำศัพท์💛

1.Desirable condition          สภาพที่พึงประสงค์

2.Indicator                    ตัวบ่งชี้

3.development                  พัฒนาการ

4.standard                     มาตรฐาน

5.Method                       วิธีการ


💜การประเมิน💜

ประเมินตนเอง 👉วันนี้ได้รู้สิ่งที่ควรแก้ไขในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในส่วนของรายละเอียดสภาพที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ พัฒนาการของเด็กทำให้ตนเองสามารถนำไปใช้ในการเขียนแผนหรือจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กได้ดียิ่งขึ้น 
ประเมินเพื่อน 👉เพื่อนๆตั้งใจฟังสิ่งที่ตนเองต้องแก้ไขในแผนการจัดประสบการณ์เพื่อจะได้เป็นแนวทางได้ 
ประเมินอาจารย์ 👉 อาจารย์บอกได้ละเอียดและเข้าใจในเรื่องของการเขียนแผนทำให้นักศึกษานำไปปรับให้ถูกต้องได้ดียิ่งขึ้นและได้ให้ความรู้ในเรื่องของสภาพที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ พัฒนาการของเด็ก

  👸  Self  Introduction 👧Name 👉 Amonrat  kongsawat            👧Nickname   👉   Nuch     💭Identification number   👉   6011200695 📓sub...